RSS

ความเป็นมา…วาติกัน

27 Feb

วามเป็นมาของนครรัฐวาติกัน กล่าวคือ นับตั้งแต่พระเยซูได้มอบหมายให้นักบุญเปโตร (Peter) เป็นหัวหน้าสาวกทั้ง 12 คน และเป็นประมุขของคริสตจักรสากล โดยชาวคาทอลิกเชื่อว่าก่อนที่นักบุญเปโตรจะถึงแก่มรณภาพ ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นบิชอปของกรุงโรม (Bishop of Rome) ด้วยจนถึงมรณภาพ ดังนั้นใครก็ตามที่สืบตำแหน่งบิชอปแห่งโรม ย่อมเป็นประมุขของคริสตจักรคาทอลิกด้วยโดยอัตโนมัติ ย้ำว่าโดย “อัตโนมัติ” นั่นคือเชื่อว่า การดำรงตำแหน่งสันตะปาปาสืบต่อจากนักบุญเปโตรมาจนทุกวันนี้

ระหว่าง 300 ปีแรก สันตะปาปาต้องปฏิบัติงานอย่างหลบๆ ซ่อนๆ ในมหาอาณาจักรโรมันในฐานะเป็นประมุขของศาสนา ต้องห้าม !!! ส่วนมากถูกจับกุมและถูกลงโทษประหารชีวิต และต่อมาทุกท่านได้รับการยกย่องเป็นนักบุญของคริสตจักรคาทอลิก รวมทั้งนักบุญเปโตรด้วย

เมื่อจักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantin) ย้ายราชสำนักไปตั้งนครหลวงใหม่ที่นครคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) ตั้งแต่ปี ค.ศ.330 ได้มอบให้สันตะปาปาปกครองกรุงโรมในนามของพระองค์ ตั้งแต่นั้นมาพระสันตะปาปาจึงดำรง 3 ตำแหน่ง (แสดงออกเป็นสัญลักษณ์โดยสวมมงกุฎ 3 ชั้น ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว) คือ เป็นประมุขของคริสตชนคาทอลิกทั่วโลก

ซึ่งมีฐานะเป็นบิชอปของกรุงโรม และเป็นเจ้านครของกรุงโรมขึ้นต่อจักรพรรดิโรมัน ครั้นเมื่อจักรพรรดิโรมันไม่สามารถกุมอำนาจทางตะวันตกได้อีกต่อไป สันตะปาปาก็มีอำนาจปกครองเด็ดขาดในฐานะกษัตริย์หรือเจ้านครรัฐอิสระโดยปริยาย

อำนาจทางการเมืองของสถาบันสันตะปาปา บางครั้งก็ขยายออกไปกินอาณาบริเวณภาคกลางของอิตาลีทั้งหมด บางครั้งขยายอาณาเขตไปถึงภาคเหนือของอิตาลี จนถึงบางส่วนทางภาคใต้ของฝรั่งเศสด้วย อาณาเขตเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาตลอดยุคกลางตามกระแสเหตุการณ์ของประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตามสถาบันสันตะปาปาตั้งสำนักปฏิบัติการอยู่ในกรุงโรมเสมอ ยกเว้นระหว่างปี ค.ศ.1309-1377  ซึ่งเป็นช่วงที่สันตะปาปาเป็นชาวฝรั่งเศสสร้างถวายให้ แต่ก็ถูกทักท้วงอย่างหนักจนต้องย้ายกลับคืนกรุงโรมและคงอยู่ต่อมาจนทุกวันนี้

เมื่อคาวัวร์ (Cavour) รวมนครรัฐต่างๆ ของอิตาลีเข้าเป็นประเทศอิตาลีได้สำเร็จ ได้ยึดกรุงโรมจากสถาบันสันตะปาปา

และสถาปนาขึ้นเป็นนครหลวงของประเทศในปี ค.ศ.1870 ได้จำกัดเขตสันตะปาปาให้มีกรรมสิทธิ์เฉพาะในกัน เขตวังวาติกัน เท่านั้น

ได้รับการทัดทานจากชาวคาทอลิกทั่วโลก

ในที่สุดมุสโสลินี (Mussolini) ได้แก้ข้อพิพาทโดยทำสนธิสัญญาลาเตรัน (Lateran Treaty) กับสำนักวาติกันในปี ค.ศ. 1929

และแก้ไขในปีค.ศ. 1984 โดยให้สัตยาบันว่า ขอรับรองและค้ำประกันอธิปไตยของนครรัฐวาติกัน และให้ความสะดวกอีกหลายๆ อย่าง

เพื่อให้นครรัฐวาติกันสามารถดำรงอยู่ได้ในฐานะรัฐอิสระ เหมาะสมที่จะให้สถาบันสันตะปาปาปฏิบัติภารกิจในฐานะประมุขของชาวคาทอลิกทั่วโลกได้ เหตุที่เรียก “สนธิสัญญาลาเตรัน” เพราะมีการเซ็นกันที่ พระราชวังลาเตรัน

 florence-italy-rooftops_37544_600x450

 

Leave a comment