RSS

สนธิสัญญาลาเตรัน

27 Feb

สนธิสัญญาลาเตรัน

มันน่าสำคัญตรงไหน … แค่แผ่นกระดาษ???

แหมะ!!! มันก็น่าสนใจตรงที่มันเป็น “แผ่นกระดาษธรรมดาๆ” นี่แหละจ๊ะ

ความสนใจของมันอยู่ที่ข้อความข้างในต่างหาก  …. มาดูกัน

เริ่มตั้งแต่ >>> กองทัพรวมชาติอิตาลียึดกรุงโรมเป็นนครหลวงของอิตาลีในปี ค.ศ.1870

จำกัดเขตให้สันตะปาปามีสิทธิปกครองเฉพาะในวังวาติกัน แต่ก็ยังมีความใจดีอยู่ คือ ออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิของสันตะปาปา

เหนือมหาวิหารในกรุงโรม และถือว่าองค์สันตะปาปามีสิทธิที่จะได้รับ การยกย่องนับถืออันผู้ใดจะละเมิดมิได้

POPE BENEDICT BLESSES PILGRIMS ON CHRISTMAS DAY

นอกจากนั้นยังถวายค่าเลี้ยงดูสันตะปาปาเป็นเงินปีละ 3,255,000 ลีร์ แต่ทว่าสันตะปาปาไพอัสที่ 9 (Pius IX)

ในขณะนั้นรู้สึกว่าถูกบีบบังคับอย่างไม่เหมาะสม และอาจจะถูกเพ่งเล็งว่าสถาบันสันตะปาปาตกอยู่ใต้การอุปถัมภ์ของรัฐบาลอิตาลี

ทำให้ไม่เป็นกลางพอสำหรับปกครองชาวคาทอลิกทั่วโลกจึงปฏิเสธ และก็ไม่ยอมรับข้อเสนอ อีกทั้งทรงประท้วงด้วยการขังตัวพระองค์เองอยู่ในเขตวังวาติกันเท่านั้น โอ้ว!!!  ดูท่าทางจะเป็นเรื่องใหญ่เอาซะแล้วล่ะ

ซึ่งมีผลทำให้รัฐบาลอิตาลีมีปัญหาในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศพอสมควร เมื่อมุสโสลินีเริ่มมีอำนาจขึ้นก็สนใจแก้ปัญหานี้เป็นอันดับแรกๆ โดยตั้งคณะกรรมการขึ้นจาก 2 ฝ่าย พิจารณาปัญหาและหาทางออกที่ดีที่สุด

ในที่สุดก็ตกลงเซ็นสัญญาลาเตรันกันระหว่างมุสโสลินีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลอิตาลีกับพระคาร์ดินัลกัสปารี (Cardinal Gaspari)

เลขาธิการรัฐวาติกันในขณะนั้น ข้อตกลงที่สำคัญมีดังต่อไปนี้ มาม่ะ มาดูกัน น น น น

 

1. รัฐบาลอิตาลียอมรับรู้ในบูรณภาพของนครรัฐวาติกันที่มีสันตะปาปาเป็นองค์ประมุข ไม่ว่าสันตะปาปาจะมาจากชนชาติใดก็ตาม

2. รัฐบาลอิตาลียอมรับรู้ว่าคาร์ดินัลทุกองค์มีฐานะเป็นเจ้าชายของรัฐวาติกัน ไม่ว่าคาร์ดินัลจะถือสัญชาติใดก็ตาม

3. รัฐบาลอิตาลีถือว่าคริสตศาสนานิกายคาทอลิกเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งจะต้องอุปถัมภ์ให้ความสะดวก (ปัจจุบันข้อนี้ยกเลิกแล้ว)

4. รัฐบาลอิตาลียอมชดใช้ค่าเสียหายแก่นครรัฐวาติกันเป็นเงินสด 750 ล้านลีร์ และเป็นพันธบัตรอีก 1,000 ล้านลีร์

5. รัฐบาลอิตาลีจะสร้างสถานีรถไฟวาติกันและสร้างทางไปเชื่อมกับสถานีวีแตร์โบ (Viterbo) ของอิตาลี ตลอดจนยินยอมให้รถไฟพระที่นั่งขององค์สันตะปาปาใช้ทางรถไฟของอิตาลีได้ทุกเวลา 

อย่างไรก็ตามพรรคฟาสซิสต์คงรับรู้กันว่า “สนธิสัญญาลาเตรัน” จะเป็นเพื่อติดต่อกับต่างประเทศได้เท่านั้น สันตะปาปายังคงประท้วง

โดยขังพระองค์อยู่ภายในเขตวังวาติกันต่อมาตลอดสมณสมัยของสันตะปาปาลีโอที่ 13 (Leo XIII) ไพอัสที่ 10 (Pius X) เบเนดิกต์ที่ 15 (Benedict XV) ไพอัสที่ 11 (Pius XI) และไพอัสที่ 12 (Pius XII)

ผลจากการประท้วงดังกล่าวช่วยให้พรรคคริสเตียนดีโมแครทของอิตาลีชนะการเลือกตั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเสนอนโยบายว่าจะรักษาสนธิสัญญาลาเตรันอย่างเคร่งครัด และจะปล่อยสถาบันสันตะปาปาเป็นอิสระจากการเมืองของอิตาลี

      หลังสงครามโลกเศรษฐกิจของอิตาลีตกต่ำมาก ประชาชนยากจนมาก ก ก ก  การที่รัฐบาลพรรคคริสเตียนดีโมแครทของอิตาลีโอบอุ้มศาสนาเกินไป นอกจากจะเสียงบประมาณแผ่นดินมากเกินไปแล้ว ยังมีผลให้นักบวชนักพรตทั้งหลายมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานอีกด้วย

โอ้ว!!!! ศาสนาอื่นก็มีตกต่ำด้วยเหมือนกันนะเนี่ยคุณผู้อ่าน น น น น น น1329634421_cut
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งอิตาลี จึงใช้เป็นประเด็นหาเสียงจนกลายเป็นพรรคคู่แข่งที่สำคัญ

สันตะปาปาจอห์นที่ 23 (John XXIII) ได้รับเลือกในปี ค.ศ.1958 (พ.ศ.2501) เห็นการณ์ไกลรีบวางนโยบาย “ปรับตัวให้ทันเหตุการณ์” (Aggiornamento) ประกาศนโยบายสร้างเอกภาพในพหุภาพ และสร้างมิตรไมตรีกับทุกฝ่าย กล่าวสั้นๆ ก็คือ ร่วมมือกันโดยไม่ต้องคิดเหมือนกันได้ออกจากวังวาติกันเพื่อเยี่ยมเยียนและร่วมพิธีทางศาสนาในที่ต่างๆ ทั่วอิตาลี

ได้ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นหลายคณะเพื่อดำเนินตามนโยบายที่ประกาศไว้ สนับสนุนความคิดริเริ่มในทุกด้าน

นอกจากนนี้ยังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันขึ้นมากมายจนคนจำนวนมากไม่อาจจะตามทัน มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมายทั้งในทางลบและทางบวก บางคนก็เข้าใจผิดและตีความเจตนาของพระองค์ผิดทั้งภายในคริสตจักรคาทอลิกและบุคคลภายนอกด้วย

 แต่ชาวโปรเเตสแตนท์จำนวนหนึ่งยังคงชื่นชมในความมีพระทัยกว้างของพระองค์ และพร้อมที่จะเจรจาเพื่อความร่วมมือระหว่างนิกายต่างๆ ในคริสตจักรทั้งหมด

แต่ส่วนมากแคลงใจว่าอาจจะเป็นนโยบายดึงสมาชิกหรือไม่ สันตะปาปาจอห์นที่ 23 ต้องรีบดำเนินนโยบาย เพราะทรงเห็นว่าเวลาของพระองค์มีน้อย จึงตัดสินพระทัยเรียกประชุมสังคายนาวาติกันที่ 2 ทั้งๆ ที่หลายฝ่ายคิดว่ายังไม่พร้อม พระองค์ถึงแก่มรณภาพในระหว่างสังคายนานั้นเอง

สันตะปาปาต่อๆ มาคือปอลที่ 6 (Paul VI) จอห์นปอลที่ 1 (John Paul I) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจอห์นปอลที่ 2 (John Paul II) คงสืบทอดเจตนารมณ์ต่อมา และขยายกว้างออกไป เช่น ออกเยี่ยมเยียนคริสตชนทั่วโลก

ทุกนิกายและศาสนิกของทุกศาสนา ตั้งกรรมาธิการเพิ่มขั้นอีกเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมต่อเจตนารมณ์ของสังคายนาวาติกันที่ 2

ปัญหาสำคัญที่ต้องแก้กันอย่างหนักเรื่อยมาก็คือ การตีความเจตนารมณ์ของสังคายนาวาติกันที่ 2 อย่างไม่ถูกต้อง

ความเข้าใจผิดมีทั้งในกลุ่มคาทอลิกเองและนอกกลุ่ม ภายในคริสตจักรคาทอลิกเองมีบางตีความเลยเถิดเกินไปจนกลายเป็นเครื่องมือตอบสนองความต้องการส่วนตัว

บางคนตีความว่าเป็นนโยบายใหม่เพื่อทำลายนิกายอื่น (โปรเเตสแตนต์และออร์โทดอกซ์) หรือศาสนาอื่นๆ ทั้งหมด ความเข้าใจผิดเช่นนี้ พบได้แม้ในหมู่ผู้มีสมณศักดิ์ระดับสูงและมีตำแหน่งหน้าที่ระดับสูง ซึ่งต้องปรับความเข้าใจกันอยู่ตลอดเวลา

และบางครั้งการปรับความเข้าใจกันทำได้ยากมาก กว่าจะสำเร็จก็ต้องใช้เวลา ชาวคาทอลิกบางคนก็มองว่าการปรับปรุงตัวเองเช่นนี้เป็นการทำลายตัวเอง จึงรวมตัวกันต่อต้านอย่างเปิดเผย ถึงขนาดวางแผนกันเลยทีเดียว 🙂

พระประมุขเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ก็มี โดยหวังว่าอาจจะได้คนหัวเก่าที่จะดึงทุกอย่างเข้าสู่สภาพเดิมก่อนสังคายนา

สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นปัญหาหนักหน่วงที่สันตะปาปาจอห์นปอลที่ 2 จะต้องเผชิญและพยายามแก้ไขโดยหวังว่าจะนำโลกสู่สันติภาพได้ด้วยหลักการแห่งการอยู่ร่วมกันโดยสันติ ร่วมมือกันได้โดยไม่ต้องคิดเหมือนกัน แต่เคารพศรัทธาของกันและกันด้วยบริสุทธิ์ใจและจริงใจต่อกัน

ทั้งนี้โดยออกสมณสาสน์ (Encyclicals) ถึงคริสต์ชนคาทอลิกอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาควบคู่กับการเสด็จออกจากนครวาติกันเยือนประเทศต่างๆ เพื่อออกแถลงการณ์

แหล่งข้อมูล ได้รับความเอื้อเฟื้อจาก ศาสตราจารย์ กีรติ บุญเจือ

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (2000) Edizioni Musei Vaticani : Vatican, 1999

 

Leave a comment